วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 29 พ.ย.-3 ธ.ค. 2553



 ตอบ 3
 สารละลายน้ำตาลประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและน้ำตาลเป็นตัวละลาย เมื่อเราค่อยๆ เติมน้ำตาลครั้งละ 1 กรัม ไปเรื่อยๆ พบว่าน้ำตาลจะละลายได้หมด แต่เมื่อเติมน้ำตาลในครั้งสุดท้ายน้ำตาลจะละลายได้ไม่หมด
น้ำตาลยังละลายในสารละลายได้อีกก็ต่อเมื่อสารละลายไม่อิ่มตัวหรือตัวทำละลายสามารถละลายตัวละลายได้อีก
การที่น้ำตาลไม่สามารถละลายต่อได้อีกก็เพราะว่าสารละลายอิ่มตัวหรือตัวทำละลายไม่สามารถละลายตัวละลายได้อีก
สารละลายเข้มข้นและสารละลายเจือจาง สารละลายเกิดจากการรวมตัวกันระหว่างตัวทำละลายและตัวละลาย อัตราส่วนของตัวทำละลายและตัวละลายจะไม่เท่ากันทำให้เกิดสภาวะของสารดังนี้
1. สารละลายเข้มข้น เป็นสารละลายที่มีปริมาณของตัวละลายอยู่มากในสารละลาย
2. สารละลายเจือจาง เป็นสารละลายที่มีปริมาณของตัวละลายอยู่น้อยในสารละลาย
ตัวอย่างการเปรียบเทียบความเข้มข้นของสาร
- สารละลายน้ำเกลือ A ประกอบด้วยน้ำ 90 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเกลือ 10 กรัม
- สารละลายน้ำเกลือ B ประกอบด้วยน้ำ 80 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเกลือ 20 กรัม
- สารละลายน้ำเกลือ C ประกอบด้วยน้ำ 70 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเกลือ 30 กรัม
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าสารละลายน้ำเกลือ C มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายน้ำเกลือ A และ B และสารละลายน้ำเกลือ B มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายน้ำเกลือ A

ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/13.htm

ตอบ 1
เม็ดเลือดแดงที่ปกติจะมีชีวิตประมาณ 120 วัน กล่าวคือ     จะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดประมาณ
120 วัน แล้วเสื่อมสลายไป โดยถูกทำลายที่ม้ามเป็นส่วนมาก ในแต่ละวันจึงมีเม็ดเลือดแดงที่แก่ตัว
แล้วเสื่อมสลายไปจำนวนหนึ่ง
 
และมีเม็ดเลือดแดงใหม่ที่ไขกระดูกสร้างเข้ามาทดแทนจำนวนหนึ่ง
จึงอยู่ในภาวะสมดุล ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง แต่ถ้าหากมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้น เม็ดเลือดแดงจะมีชีวิต
สั้นกว่าปกติ ถูกทำลายเร็วขึ้น ซึ่งถ้าหากมีการสลายของเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก จนไขกระดูกสร้าง
ทดแทนให้ไม่ทัน ก็จะทำให้เกิดภาวะเลือดจาง เรียกว่า โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก
(Hemolytic anemia) ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลือง ปัสสาวะสีน้ำปลา อ่อนเพลีย บางคนอาจมีไข้สูง
หนาวสั่น ตับโต ม้ามโต ภาวะโลหิตจางชนิดนี้ อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง ที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่
ทาลัสซีเมีย และภาวะพร่องเอนไซม ์จี-6-พีดี (G-6-PD deficiency) ทาลัสซีเมียได้แยกกล่าวไว้แล้ว
ในที่นี้จะกล่าวถึง ภาวะพร่องเอนไซม์
จี-6-พีดี
ที่มา www.thailabonline.com/sec31anemia.htm  

ตอบ 1
เลือด เป็นของเหลว ประกอบด้วยน้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ร่างกายเรามีเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตรหรือคิดเทียบกับน้ำหนักตัวเท่ากับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว
ตอบ 7
การสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย  ในภาวะปกติ ร่างกายของเรามีการสูญเสียน้ำออกในทางผิวหนัง การหายใจ การขับถ่ายออกไปกับปัสสาวะ อุจจาระ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น อุณหภูมิภายนอก ความชื้น ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล เพื่อปรับสภาพในร่างกายให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตให้เป็นไปตามปกติสุข แต่ในระหว่างการออกกำลังกายจะเกิดการสูญเสียเหงื่อออกค่อนข้างมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิด ตลอดจนความหนักของการออกกำลังกาย จึงทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำออกไปจากร่างกาย นอกจากสูญเสียน้ำแล้ว จะยังมีการสูญเสียเกลือแร่ชนิดละลายน้ำได้ เช่น โซเดียม (Na) คลอไรด์ (Cl) โปแตสเซียม (K) แมกนีเซียม (Mg) เป็นต้น การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกาย (จากเซลล์ต่างๆ) นี่เอง ก็จะทำให้สมรรถภาพทางกาย (Physical Performance) ของบุคคลนั้นลดต่ำลง ซึ่งถ้าหากเป็นบุคคลทั่วๆไปก็คงไม่สำคัญมากเท่าใดนัก แต่หากเป็นในนักกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ นักกีฬาอาชีพ ย่อมมีผลในการแพ้ชนะของการแข่งขันด้วย ดังนั้นการมีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวให้ร่างกายมีความพร้อมของน้ำในร่างกาย (Prevent Hydration) ตั้งแต่ก่อนการออกกำลังกายหรือก่อนการแข่งขัน การชดเชยน้ำขณะออกกำลังกายหรือขณะทำการแข่งขัน (During Exercise or During Competition Hydration) และขณะจบการออกกำลังกายหรือจบการแข่งขัน (Post-Exercise or Post-Competition or Recovery Hydration) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกกำลังกายทั่วๆไป การสูญเสียเหงื่อจะอยู่ประมาณที่ 0.5-1.2 ลิตร/ชั่วโมง หากในที่มีอากาศร้อนมากขึ้น อาจสูศเสียถึง 2 ลิตร/ชั่วโมงขึ้นไปและมีการทำวิจัยที่แสดงผลชัดเจนว่า หากมีการสูญเสียเหงื่อมากกว่า 2% ของน้ำหนักตัว สมรรถภาพทางกาย (Physical Performance) ของคนๆนั้นจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของน้ำต่อนักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังพบว่า การขาดน้ำมากๆในนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายบางรายโดยเฉพาะเวลาอากาศร้อนๆอาจทำให้หมดสติ ที่เราเรียกว่า Heat Stroke และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตก็เคยมี
ตอบ 4
การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในสิ่งมีชีวิต     สัตว์ทุกชนิดจะมีการย่อยสลายอาหารต่าง ๆ ให้กลายเป็นโมเลกุลสารอาหารขนาดเล็ก แล้วนำเข้าสู่ภายในเซลล์เพื่อไปใช้เผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและพลังงานความร้อนโดยพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจะถูกถ่ายเทสู่สิ่งแวดล้อม และอีกส่วนหนึ่งจะถูกสะสมไว้ในร่างกายเพื่อรักษาความอบอุ่นของร่างกาย
     การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมน*และเอนไซม์**ต่าง ๆ ในร่างกายต้องอาศัยระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้นถ้าหากอุณหภูมิในร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป ก็จะมีผลทำให้การทำงานของฮอร์โมนและเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติได้

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2874


ตอบ 4
พืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ(transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ และทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเพราะมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำปากใบและการคายน้ำของพืช ในบางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพันธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด (hydathode) มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation) ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ 
ที่มา http://biology501.storythai.com/200901/entry-6

   
ตอบ 4
ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบลำเลียงสารต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ประกอบไปด้วย น้ำเหลือง ( Lymph ) ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) และอวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ )
ที่มา http://iamblueblood.exteen.com/20080821/entry-4                             

ตอบ 4
อุณหภูมิปกติของร่างกาย (อังกฤษ: Normal human body temperature หรือ normothermia หรือ euthermia) คือระดับอุณหภูมิที่ขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา และ ระดับกิจกรรมที่ปฏิบัติ ของการวัดอุณหภูมิของร่างกาย แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นที่ยอมรับกันว่า 37.0°C หรือ 98.6°F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยของอุณหภูมิปกติของร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่วัดใต้ลิ้น[7][8] แต่อุณหภูมิที่วัดทางทวารหนัก หรือ วัดโดยตรงจากภายในร่างกายจะสูงกว่าเล็กน้อย ในรัสเซียหรือในประเทศในอดีตสหภาพโซเวียตอุณหภูมิปกติของร่างกายเฉลี่ย 36.6°C หรือ 97.9°F โดยวัดจากใต้รักแร้ แกนอุณหภูมิของร่างกายของแต่ละคนมักจะลดต่ำสุดในช่วงที่สองของนอนหลับ ที่เรียกว่า “nadir” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ จังหวะรอบวัน
ทีมา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2
ตอบ 2
ออร์แกแนลล์ (organelle) ออร์แกแนลล์เป็นส่วนที่มีชีวิต ทำหน้าทีคล้ายกับเป็นอวัยวะของเซลล์ แบ่งเป็นพวกที่มีเยื่อหุ้มและไม่มีเยื่อหุ้ม  สิ่งที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งหมดยกเว้นนิวเคลียส เรียกว่า ไซโทพลาซึม ซึ่งเป็นของเหลวที่มีโครงสร้างเล็ก ๆ คือ ออร์แกเนลล์ (Organelle) กระจายอยู่ทั่วไป โดยออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่จะมีเยื่อหุ้ม ทำให้องค์ประกอบภายในออร์แกเนลล์แยกออกจากองค์ประกอบอื่น ๆ ในไซโทพลาซึม ปฏิกิริยาทางชีวเคมีในออร์แกเนลล์จึงเกิดขึ้นได้อย่างเอกเทศ ทั้งนี้ ภายในเซลล์จะมีออร์แกเนลล์อยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกันไป
ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ 2 ชั้นพับไปมา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีไรโบโซมเกาะติดอยู่ เรียกว่า แบบผิวขรุขระ (Rough Endoplasmic Reticulum) ทำหน้าที่ร่วมกับไรโบโซมในการสังเคราะห์โปรตีนและส่งโปรตีนออกนอกเซลล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น