วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13 - 17 ธ.ค 2553







ตอบ 4

อธิบาย หมู่เลือดของพ่อ-แม่-ลูก

1. พ่อ A + แม่ A = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O

2. พ่อ B + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O

3. พ่อ AB + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B

4. พ่อ O + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด O เท่านั้น

5. พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, O

6. พ่อ A + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B

7. พ่อ B + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B

8. พ่อ AB + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B

9. พ่อ A + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O

10. พ่อ B + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O

11. พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, O

ที่มา health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=111












ตอบ 2

อธิบาย การตัดต่อทางพันธุกรรมหรือการดัดแปรพันธุกรรมนั้นทำอย่างไร มีการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่

การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต คือ การนำสารพันธุกรรม (หรือที่เรียกว่า ยีน) ที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม

วิธีการถ่ายยีน มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใด พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หลักสำคัญของการถ่ายยีนก็คือ

- ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใดปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน

- วิธีที่ใช้ถ่ายยีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย หรือการยิงกระสุนทองคำเคลือบชิ้นยีน โดยใช้แรงดันลมจากก๊าซเฉื่อย หรือการใช้แบคทีเรียชื่อ “อะโกรแบคทีเรีย” (ซึ่ง 2 วิธีหลังนี้ใช้สำหรับการถ่ายยีนเข้าพืชเท่านั้น) วิธีต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะต้องมีประสิทธิภาพดีในการนำพาชิ้นยีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ยังต้องไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ เพราะมิฉะนั้นแล้วเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีนจะไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่สมบูรณ์ได้

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในขั้นตอนของการดัดแปรพันธุกรรมนั้น ย่อมมีสารเคมีหรือสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านั้นจะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาดชิ้นยีนก่อนการถ่ายยีน ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต

ที่มา http://www.pramot.com/gmo/gmoques.html














ตอบ 2

อธิบาย ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของคน ทำได้โดยการสืบประวัติครอบครัวซึ่งมีลักษณะที่ต้องการศึกษาหลายๆชั่วอายุคน ดังที่นักเรียนทำในกิจกรรม 4.1 จากนั้นนำมาเขียนแผนผังแสดงบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่ศึกษาเรียกแผนผังดังกล่าวว่า เพดดิกรี(pedigree)โดยใช้สัญลักษณ์แทนบุคคลต่างๆทั้งผู้ที่แสดงและไม่แสดงลักษณะที่กำลังศึกษา หากลักษณะใดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพดดิกรีจะช่วยให้สังเกตเห็นแบบแผนการถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยให้บอกได้ว่าลักษณะนั้นๆ เป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย เป็นลักษณะพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศใดเพศหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่ นักเรียนจะได้ศึกษาตัวอย่างเพดดิกรีของลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ต่อไป

ที่มา http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24















ตอบ 1

อธิบาย ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง

ที่มา http://www.biotec.or.th/brt/index.php?option=com_content&view=article&id=132:bryophyte-suntree&catid=58:plant&Itemid=52











1

อธิบาย ไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย



ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น